ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแปล ทั้งโดยอรรถและยกศัพท์ โดย ท.ธีรานันท์เป็นการนำเสนอธัมมจักกัปปวัตนสูตร ทั้งคำสวด อานิสงส์ของการสวด คำแปลพระสูตรทั้งโดยอรรถและโดยยกศัพท์ เพื่อให้เป็นเป็นคุณูปการแก่ทุกท่านที่สนใจศึกษาเล่าเรียนบาลีเพื่อธำรงรักษาซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าสืบไป

Total Pageviews

Google

Thursday, September 8, 2022

อานิสงส์จากคำบอกเล่าของอีกท่านหนึ่ง ท่านใดได้สวดธัมมจักกัปปวัตตสูตรจะทำให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง





ในสื่อสารมวลอีกแห่งหนึ่งกล่าวถึงอานิสงส์ของการสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรไว้ดังนี้:

“ท่านใดได้สวดจะทำให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่าจะเป็นกิจการงานแขนงใดที่ทำอยู่จะได้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น และยังเป็นบทสวดที่ปลดเปลื้องทุกข์ภัยต่างๆ นานาได้อีกด้วย

“สิ่งเลวร้ายจะกลายมาเป็นแก้วสารพัดนึกขึ้นมาได้และยังจะทำให้ผู้นั้นมีอายุยืน มีความ สุขกาย สุขใจ ปราศจากทุกข์โศก โรคภัย เมื่อได้สวดประจำทุกคืน ทั้งตื่นและหลับจะกลับกลายเป็นมิ่งมงคลแก่ตัวเอง เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ได้มีความเจริญก้าวหน้าสถาพร ทรัพย์สมบัติข้าวของบริบูรณ์ เมื่อละไปจากโลกจะ ได้ไปอยู่เป็นสุขในสรวงสวรรค์ชั้นใดชั้นหนึ่งดังที่จิตใจของเราได้เคยสวดสาธยายมาแล้ว”

ตัวอย่างประสบการณ์ของพนักงานบริษัทผู้หนึ่ง ได้บอกถึงอานิสงส์ของการสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร



พนักงานบริษัทผู้หนึ่ง ได้บอกถึงอานิสงส์ของการสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรในเว็บของ”ธรรมกาย”ว่า

“เราไปลงทะเบียนปฏิบัติธรรม 6 วันที่วัดพระธรรมกาย ได้นั่งสมาธิ ได้สวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตนสูตร ที่จริงเราตั้งใจสวดมาหลายรอบแล้ว สวดไปหลับไป เราเลยปรับวิธีการ เพิ่มการเวียนประทักษิณเข้ามา ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ วิกฤตทุกอย่างสามารถเคลียร์ได้ภายในเดือนกว่า ๆ อย่างหนี้ก้อนโตก็มีปัจจัยเข้ามาใช้หนี้อย่างอัศจรรย์ และที่เราตั้งใจว่าเราอยากได้งานที่เมืองไทย เราจึงอธิษฐานจิตว่า ด้วยบุญที่เราทำทุก ๆ บุญ ให้เราได้งานที่เมืองไทย แล้วมีรายได้อย่างที่เคยได้ เพราะว่าเราเคยทำบุญเยอะ ก็อยากทำไปเรื่อย ๆ ถ้าได้น้อยลงก็ทำแบบนั้นไม่ได้ แล้วเราก็ได้งานใหม่ ซึ่งมันไม่ง่ายเลย เพราะว่าตำแหน่งนี้เขาไม่ค่อยจ้างคนไทยค่ะ แล้วเราตั้งค่าตัวเราไว้เหมือนที่ต่างประเทศด้วย

“ตอนนั้น เรามาสวดมนต์ เดินเวียนประทักษิณ แล้วตั้งผัง อธิษฐาน แล้วโทรศัพท์ไปเช็กด้วยว่า ตำแหน่งนี้ยังรับคนอยู่ไหม เขาบอกว่ามีคนในรอบสุดท้ายหลายคน คุณมาช้าไปนิดหนึ่ง ผ่านไป 1 วัน เขาเรียกเราไปสัมภาษณ์ แล้วโทรศัพท์มาบอกเราให้ไปทำแบบทดสอบความถนัด ซึ่งเราทำข้อสอบนี้ไม่ผ่าน ปกติถ้าหากตรงนี้ไม่ผ่านโดยทั่วไปเขาปฏิเสธเลย แต่เขายังเรียกเราไปคุยอีก 2 รอบเราแปลกใจมาก แต่ก็ไม่ได้คิดอะไร เราทำดีที่สุดแล้ว สุดท้ายได้งานอย่างไม่น่าเชื่อ ช่วงระยะเวลาเพียง 2 อาทิตย์เท่านั้นที่เรามาเวียนประทักษิณต่อเนื่อง สรุปก็คือเราได้งานแล้วได้เงินเดือนอย่างที่เราอยากได้...”


เสียงสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

 เสียงสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร 



อานิสงส์แห่งการสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

 


อานิสงส์แห่งการสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีอานิสงส์มากหลาย ท่านใดได้สวด จะทําให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง กิจการมีความเจริญก้าวหน้า ทําให้ผู้สวดมีอายุยืน มีความสุขกายสุขใจ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย ปลดเปลื้องทุกข์ภัยต่าง ๆ นานาได้ สิ่งเลวร้ายจะกลับกลายเป็นแก้วสารพัดนึกขึ้นมาได้ หากสวดประจําจะเป็นมิ่งมงคลแก่ตัวมีความก้าวหน้าสถาพร ทรัพย์สมบัติ ข้าวของบริบูรณ์ ตายแล้วก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

คำสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร



คำสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

(บาลีเขียนสะกดแบบไทยให้อ่านง่าย)

เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตฺระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ

เทฺวเม (อ่านว่า ทเว-เม) ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต

 

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ

 

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ

 

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ

 

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะ โทมะนัสสุปายา สาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา

 

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตฺระตัตฺราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา

 

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย

 

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง

 

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ

 

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

 

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

 

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

 

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

 

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

 

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

 

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

 

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

 

อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

 

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

 

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทฺวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ

 

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรัหฺมะเก สัสสะมะณะพฺราหฺมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง

 

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทฺวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ

 

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรัหฺมะเก สัสสะมะณะพฺราหฺมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง

 

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ

 

อิทะมะโวจะ ภะคะวา อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง อิมัสฺมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสฺมิง ภัญญะมาเน อายัสฺมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ

 

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเนมิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พฺรัหฺมุนา วา เกนะจิวา โลกัสฺมินติ

 

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พฺรัหฺมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

พฺรัหฺมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พฺรัหฺมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

พฺรัหฺมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา มะหาพฺรัหฺมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ


มะหาพฺรัหฺมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุภะกิณฺหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

สุภะกิณฺหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

 

เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเนมิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสฺมินติ

 

อิติหะเตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พฺรัหฺมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง

 

อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ

 

อิติหิทัง อายัสฺมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตฺววะ(อ่านว่า ตเว-วะ)นามัง อะโหสีติ

=======================

หมายเหตุ

ถ้าจะสวดเพียงสวรรค์ 6 ชั้น เมื่อสวดจบคำว่า ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา...ให้สวด คำว่า พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง..แล้วให้สวดต่อ เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง ฯลฯ ต่อไปจนจบ

บทขัดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

 


อะนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง สัมพุชฌิต๎วา ตะถาคะโต

 ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง

 สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง

 ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฏิปัตติ จะ มัชฌิมา

 จะตูส๎วาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง

 เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง

 นาเมนะ วิสสุตัง สุตตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง

 เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ

คําแปลธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโดยอรรถ

พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เมื่อจะทรงประกาศธรรมที่ใครๆ ยังมิได้ให้เป็นแล้วในโลกให้เป็นไปโดยชอบแท้ ทรงแสดงอนุตตรธรรมจักรใด คือในธรรมจักรใด พระองค์ตรัสซึ่งที่สุด 2 ประการ และข้อปฏิบัติเป็นกลาง และปัญญาอันรู้เห็นที่หมดจดแล้ว ในอริยสัจทั้ง 4 เราทั้งหลายจงสวดธรรมจักรนั้นที่พระองค์ผู้เป็นพระธรรมราชาทรงแสดงแล้ว ปรากฏโดยชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นสูตรประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณ อันพระสังคีติกาจารย์ ร้อยกรองไว้โดยเวยยากรณปาฐะเทอญ

คำแปลธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโดยยกศัพท์

ตถาคะโต อันว่าพระตถาคต(พระพุทธเจ้า) สัมพุชฌิตวา ตรัสรู้แล้ว อะภิสัมโพธิง ซึ่งพระสัมโพธิญาณ อะนุตตะรัง อันเป็นญาณอันไม่มีญาณอื่นยิ่งกว่า อะเทเสสิ ได้ทรงแสดงแล้ว ธัมมะจักกัง ซึ่งจักรคือธรรม ยัง ใด อะนุตตะรัง อันไม่มีจักรอื่นยิ่งกว่า ปะฐะมัง อันเป็นพระสูตรแรก ตัง ธัมมจักกัง ยังจักรคือธรรมนั้น โลเก อัปปะติวตัตติยัง อันยังไม่เคยมีใครให้เป็นไป ในโลก ปวัตเตนโต ให้เป็นไปอยู่ สัมมะเทวะ โดยชอบนั่นเทียว  อุโภ อันตา อักขาตา จะ อันว่าความสุดโต่งทั้งหลาย ทั้งสองอย่าง ( คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค) อันพระศาสดาได้ตรัสไว้แล้วด้วย มัชฌิมา ปะฏิปัตติ อักขาตา จะ อันว่าข้อปฏิบัติ อันเป็น(สาย)กลาง อันพระศาสดา ได้ตรัสแล้วด้วย จะตูสุ  อะริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณทัสสะนัง อักขาตัง จะ อันว่าการเห็นด้วยญาณ อันบริสุทธิ์วิเศษ ในอริยสัจทั้งหลาย สี่อย่าง อันพระศาสดา ตรัสไว้แล้วด้วย ยัตถ ธัมมจักเก ในจักรคือธรรมใด มะยัง อันว่าพวกเราทั้งหลาย ภะณามะ เส จงสวดกันเถิด ตัง ธัมมะจักกัง ซึ่งจักรคือธรรมนั้น ธัมมะราเชนะ เทสิตัง อันอันพระธรรมราชา (พระพุทธเจ้า) ทรงแสดงแล้ว  สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง อันประกาศซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง อิติ  นาเมนะ วิสสุตัง อันปรากฏแล้ว โดยชื่อว่า ธัมมจักกัปวัตตนสูตร ดังนี้ เวยยากะระณะปาเฐน สังคีตัง อันอันพระสังคีติกาจารย์ ร้อยกรองไว้แล้ว โดยเวยยากรณปาฐะ(ภาษาบาลีตามหลักไวยากรณ์)

 


คำนำ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแปล


.ใน พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้อธิบายถึง “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”ไว้ว่า:

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป หรือพระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม เป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือ พระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หลังจากวันตรัสรู้สองเดือน ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลางอันเว้นที่สุด 2 อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ 4 ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาร (ญาณคือความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม) ท่านโกณฑัญญะ หัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้วได้ดวงตาเห็นธรรม(ธรรมจักษุ) และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรก เรียกว่าเป็นปฐมเทศนา

สำหรับ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแปลที่นำมาเสนอนี้ ประกอบด้วยสาระ ดังนี้ 1) คำสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ภาษาบาลี เขียนให้อ่านง่ายแบบไทย 2) คำแปลโดยอรรถ และ 3) คำแปลโดยยกศัพท์ 1)บทขัดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร 2)บทสวดธัมมมจักกัปปวัตตนสูตร  3)อานิสงส์แห่งการสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  4)คำแปลโดยอรรถ และ 5)คำแปลโดยยกศัพท์

ผู้นำเสนอหวังว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแปล บทสวดพร้อมคำแปลโดยอรรถและคำแปลโดยยกศัพท์” จะเป็นประโยชน์แก่สาธุชนทั้งหลายทั้งฝ่ายผู้สวดผู้สวดและฝ่ายผู้สนใจใคร่ที่จะศึกษาในสาระใจความของ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” พระสูตรอันสำคัญยิ่งสูตรหนึ่งของพระพุทธศาสนานี้

ท.ธีรานันท์

 

Custom Search

Followers